วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558


10 ร่องลึกของมหาสมุทร

1. ชาเลนเจอร์ดีป (Challenger Deep) อยู่ในบริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา หรือ มาเรียนา เทรนช์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก วัดความลึกได้ ระหว่าง 10,916-11,033 เมตร หรือเกือบ 11 กิโลเมตร โดยจุดนี้อยู่ ห่างไปทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งถ้าเทียบกับสถานที่บนโลก ที่แห่งนี้จะมีขนาดความใหญ่กว่าพื้นที่แกรนด์แคนยอนถึง 120 เท่า และสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 1.6 กิโลเมตร และแน่นอนว่า หากเราว่ายน้ำลงไปแล้ว ทุกอย่างก็จะกลายเป็นความมืดมิดและหนาวเหน็บมาก ๆ เพราะลึกจนแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงนั่นเอง



                                     Tonga Trench            
2. ร่องลึกก้นสมุทรตองกา (Tonga Trench) ถูกจัดให้เป็นร่องน้ำลึกอันดับที่ 2 ของโลกเท่าที่มีการสำรวจมา มันมีความลึกที่ 10,882 เมตร  จากระดับน้ำทะเล และอยู่ในโซนแฟซิฟิกใต้ ของมหาสมุทรแปซิฟิกอันกว้างใหญ่ ร่องลึกแห่งนี้เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกที่ชนแล้วมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกตองกา

                                Kuril-Kamchatka Trench         

3. ร่องลึกก้นสมุทรคูริล-คัมชัทกา (Kuril-Kamchatka Trench) มีความลึกประมาณ 10,500 เมตร อยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแฟซิฟิก วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรคัมชัทกา ขนานไปกับแนวหมู่เกาะคูริล และเป็นร่องน้ำลึกในเขตที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) คือแผ่นแปซิฟิกเพลทที่มุดตัวลงใต้แผ่น Okhotsk Plate ปัจจุบันนี้ยังคงมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ

                                                 Philippine Trench       
4. ร่องลึกก้นสมุทรฟิลิปปิน (Philippine Trench) 
หรืออาจเรียกว่า ร่องลึกก้นสมุทรมินดาเนา มีความลึก 10,540 เมตร จากระดับน้ำทะเล วัดได้จากจุดที่ลึกที่สุดชื่อว่า ร่องลึกกาลาเธีย (Galathea Depth) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์

                                  Kermadec Trench          

5. ร่องลึกก้นสมุทรเคอร์มาเดค (Kermadec Trench) มีความลึกที่ 10,047 เมตร จากระดับน้ำทะเล วางตัวขนานไปกับแนวโค้งของหมู่เกาะเคอร์มาเดค ประเทศนิวซีแลนด์ ทอดตัวยาวราวหนึ่งพันกิโลเมตร แล้วเชื่อมต่อกับแนวภูเขาใต้ทะเลหลุยส์วิลล์ (Louisville Seamount chain) ร่องลึกแห่งนี้เกิดจากการมุดตัวแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก มุดลงลงใต้แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และเป็นร่องลึกที่มีความชันอย่างเด่นชัด

                                       Rico Trench          

6. ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก (Puerto Rico Trench) อยู่ในช่วงรอยต่อของทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติก มีความลึก 8,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องลึกที่มีความลึกมากที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวกว่า 800 กิโลเมตร ร่องลึกเปอร์โตริโกเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก (fault zone) อันเป็นต้นเหตุของคลื่นใต้น้ำขนาดใหญ่ หรือสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรงในบริเวณใกล้เคียง โดยแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี 1953 ที่เมืองซานโต โดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน สามารถวัดระดับความรุนแรงได้ถึง 8.1 แมกนิจูด

                             South Sandwich Trench         

7. ร่องลึกก้นสมุทรเซาธ์ แซนด์วิช (South Sandwich Trench) อยู่ทางตอนใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากหมู่เกาะภูเขาไฟเซาธ์ แซนด์วิช อันเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ออกไปทางตะวันออกราว 100 กิโลเมตร มีความลึกประมาณ 8,428 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องที่มีความลึกเป็นอันดับ 2 ของมหาสมุทรแห่งนี้ และทอดตัวยาวราว 956 กิโลเมตร เกิดจากการมุดตัวของส่วนปลายของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ หรือเซาธ์ อเมริกัน เพลท ลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกเซาธ์ แซนด์วิช

                                  Romanche Trench          

8. ร่องลึกก้นสมุทรโรมังเช่ (Romanche Trench) มีความลึก 7,760 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทอดตัวยาวประมาณ 300 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรไปทางตอนเหนือเล็กน้อย โดยอยู่ส่วนที่แคบที่สุดของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างประเทศบราซิล และทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ร่องลึกก้นสมุทรโรมังเช่นับเป็นร่องน้ำลึกที่มีความลึกเป็นอันดับ 3 ของมหาสมุทรแอตแลนติก และยังเป็นร่องน้ำลึกที่แบ่งสันเขาใต้สมุทรมิดแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) ออกเป็นสองส่วนด้วย

Java Trench          

9. ร่องลึกก้นสมุทรชวา (Java Trench) หรืออาจเป็นที่รู้จักในนาม ร่องลึกก้นสมุทรซุนดา (Sunda trench) มีความลึก 7,725 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องน้ำลึกที่มีความลึกมากที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย ร่องลึกแห่งนี้ทอดตัวยาวราว 2,600 กิโลเมตร จากหมู่เกาะซุนดาน้อย ผ่านตอนใต้ของเกาะสุมาตราไปจนถึงเกาะชวา เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลียนเพลทลงใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ร่องลึกก้นสมุทรชวายังอยู่ในเขตวงแหวนแห่งไฟ (Pacific Ring of Fire) อีกด้วย จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณของร่องลึกนี้ สามารถนำมาซึ่งมหันตภัยใหญ่ เช่น สึนามิ ได้ จึงเป็นที่มาของการทำข้อตกลงนานาชาติในการติดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ไปตลอดแนวมหาสมุทรอินเดียนั่นเอง

                                        Eurasian Basin       
10. แอ่งลึกยูเรเซีย (Eurasian Basin)
 ถูกพบอยู่ภายใต้ผืนน้ำแข็งมหาสมุทรอาร์กติก มีความลึกราว 5,450 เมตร จากระดับน้ำทะเล และทอดตัวยาวประมาณ 350 กิโลเมตร นับเป็นร่องใต้สมุทรที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์กติก 
                      

อ้างถึง:     10 ร่องลึกของมหาสมุทร:http://hilight.kapook.com/view/99981


วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558




มหาสมุทรอินเดีย
         มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำในโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทย ทะเลอันดามัน คาบสมุทรมลายู หมู่เกาะซุนดา หมู่เกาะสิมิลัน ประเทศออสเตรเลีย และอ่าวพังงา ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก

ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นที่ 73,556,000 ตารางกิโลเมตร (รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย) ทั้งมหาสมุทรมีปริมาตรประมาณ 292,131,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ริมขอบของมหาสมุทรมีเกาะขนาดเล็กจำนวนมาก ประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มาดากัสการ์ (เดิมเป็นสาธารณรัฐมาลากาซี) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รวมทั้งคอโมรอส เซเชลส์ มัลดีฟส์ ประเทศมอริเชียส และศรีลังกา กั้นเขตแดนด้วยประเทศอินโดนีเซีย และจังหวัดเกาะในมหาสมุทรอินเดีย คือจังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทย มหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญในฐานะเส้นทางผ่านระหว่างเอเชียและแอฟริกา ในอดีตจึงมีข้อพิพาทบ่อยครั้ง แต่เนืองจากมหาสมุทรมีขนาดใหญ่ ไม่มีประเทศใดที่สามารถครอบครองได้จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1800 เมื่อประเทศบริเตนเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่รอบ ๆ


จุดลึกที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณ
Java Trenech ลึกประมาณ 3,840 เมตร


มหาสมุทรใต้
         มหาสมุทรใต้ (อังกฤษ: Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (อังกฤษ: Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา



            มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดียปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป


มหาสมุทรอาร์ติก

            
มหาสมุทรอาร์กติก (อังกฤษ: Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด
มหาสมุทรอาร์กติกครอบคลุมแอ่งรูปร่างเกือบเป็นวงกลม มีพื้นที่ 14,090,000 ตารางกโลเมตร ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) ทะเลโบฟอร์ต (Beaufort Sea) ทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ทะเลคารา (Kara Sea) ทะเลลัปเตฟ (Laptev Sea) ทะเลไซบีเรียตะวันออก (East Siberian Sea) ทะเลลิงคอล์น (Lincoln Sea) ทะเลแวนเดล (Wandel Sea) ทะเลกรีนแลนด์ (Greenland Sea) และทะเลนอร์เวย์ (Norwegian Sea) เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง (Bering Strait) และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์
         
มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปี (และเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว) อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร และการเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา
สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต)
         
หมู่เกาะ   

กรีนแลนด์   (กะลาลลิซุต: 
Kalaallit Nunaat; เดนมาร์ก: Grønland) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499
เกาะวิกตอเรีย   (อังกฤษ: 
Victoria) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนูนาวุต คาบสมุทรบูเธีย เกาะแบงค์ เกาะสเตแฟนส์สั่น เกาะเมลวิลล์ เกาะซัมเมอร์เซต และเกาะพรินซ์ออฟเรสล์ มีพื้นที่ติดกับอ่าวอมันด์เซและอ่าวโคโรเนชั่น มีเมืองติดชายฝั่งทะเลคือเมืองโฮลแมนและเคมบริดจ์เบย์
เกาะแบฟฟิน   เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดา และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 
ของโลก อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์ ติดกับอ่าวแบฟฟิน ,คาบสมุทรคัมเบอร์แลนด์ ,แคบฮัดสันและเดวิส มีหิมะอยู่ทางเหนือของเกาะ และทางใต้ที่ติดกับอ่าวฟรอบิสเซอร์ มีเมืองสำคัญคืออีกวาลิค
ยานไมเอน   (นอร์เวย์:
Jan Mayen) เป็นเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ระหว่างกรีนแลนด์กับนอร์เวย์ มีความยาว 55 กิโลเมตร เนื้อที่ 373 ตารางกิโลเมตร อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศนอร์เวย์
จุดที่สูงที่สุดของยานไมเอนคือภูเขาไฟเบเรนเบร์ก 2277 เมตร ยานไมเอนไม่มีประชากรอยู่อาศัยยกเว้นเจ้าหน้าที่ในศูนย์อุตุนิยมวิทยา
สฟาลบาร์ 
 เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นรัฐในอธิปไตยของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์เบอร์เกน บีเยอร์เนอยา และโฮเปน
เกาะเอลสเมียร์  (อังกฤษ: 
Ellesmere Island) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก นับเป็นเกาะใหญ่อันดับสิบของโลก และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศแคนาดา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล จึงถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของขั้วโลกเหนือ
จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์คติก
บริเวณ 
Eurasia Basin ลึกประมาณ 1,038 เมตร

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2558


มหาสมุทร

มหาสมุทร(ocean)  คือ เปลือกโลกส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับแอ่งและมีน้ำปกคลุมอยู่ มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 71 ของเปลือกโลกทั้งหมด มหาสมุทรอยู่ระหว่างทวีปและอยู่ล้อมรอบทวิปด้วย ส่วนที่อยู่ขอบ ๆ ของมหาสมุทรเรียกว่า ทะเล บางส่วนเรียกว่าอ่าว บางทีเราใช้คำว่าทะเลแต่หมายถึงมหาสมุทรก็มี บางทีเราใช้คำว่าทะเลแต่หมายถึงมหาสมุทรก็มี
             ทะเลมหาสมุทรนั้นเป็นหินจำพวกหินบะซอลต์จึงเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า ไซมา ผิวหน้าของทะเลมหาสมุทรเรียกว่า ระดับน้ำทะเล ซึ่งไม่ได้แบนราบเหมือนแผ่นกระดาษ แต่จะโค้งนูนออกมาเหมือนเปลือกโลกส่วนนั้น ระดับน้ำทะเลนี้ไม่คงที่แต่เปลี่ยนแปลงได้ เพราะน้ำเป็นของเหลวจึงเปลี่ยนได้ง่าย การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลเป็นการเปลี่ยนเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเพราะมีน้ำขึ้นน้ำลง หรือมีฝนตกมากผิดปกติ หรือมีลมพัดมาเหนือน้ำทะเล และจะไม่ทิ้งร่องรอยไว้เลย แต่จะสังเกตได้ที่แถบชายฝั่ง พื้นท้องมหาสมุทรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโลกนั้น จะมีลักษณะโค้งนูนออกมาเหมือนระดับน้ำทะเล การที่มีน้ำขังอยู่ได้เพราะส่วนนี้อยู่ไกล้จุดศูนย์กลางของโลกมากกว่าส่วนที่เป็นพื้นดินที่อยู่ติดต่อกัน ทะเลมหาสมุทรมีความลึกโดยเฉลี่ยประมาณ 3.7 กิโลเมตร(12,450 ฟุต หรือ 2.36 ไมล์ แต่ส่วนใหญ่ลึกกว่านี้ประมาณ 4.7 กิโลเมตร ( 3 ไมล์ ) หรือมากกว่านั้น และยังมีส่วนที่ลึกมากกว่านี้ คือลึกถึง 9.5 กิโลเมตร ( 6 ไมล์ ) ที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งถือกันว่าเป็นตอนที่ลึกที่สุดของทะเลมหาสมุทรทั้งหมด มีชื่อเรียกว่า ร่องลึกบาดาลมาเรียน่านั้นลึกถึง 10.692 กิโลเมตร ( 35,640 ฟุต)
มหาสมุทรทั่วโลกมีพื้นที่รวม 361 ล้านตารางกิโลเมตร ปริมาตร 1,370 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,790 เมตร ไม่นับรวมทะเลที่ไม่เชื่อมต่อกับมหาสมุทร อาทิ ทะเลแคสเปียน
มวลรวมของส่วนอุทกภาคมีค่าประมาณ 1.4×1021 กิโลกรัม คิดเป็น 0.023 % ของมวลโลก
องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) เป็นผู้กำหนดเส้นแบ่งเขตระหว่างแต่ละมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น มหาสมุทรใต้เริ่มจากชายฝั่งทวีปแอนตาร์กติกาไปถึงละติจูด 60 องศาใต้ พื้นที่ที่มีขนาดเล็กกว่ามหาสมุทร เรียกว่า ทะเล อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ

ไหล่ทวีป

ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่ตื้นที่สุดและอยู่ติดกับส่วนที่เป็นทวีป บางทีถือว่าเป็นส่วนของทวีป พื้นของไหล่ทวีปบางตอนจะเรียบ บางตอนมีร่องยาว บางตอนมีสันเนิน บางตอนมีแอ่งกลม บางตอนมีเนินเขาบางส่วนเป็นหิน บางส่วนปกคลุมด้วยโคลน ทราย หรือกรวด
ไหล่ทวีป เป็นส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง อาจเป็นการเปลี่ยนแปลงแบบกรรมวิธีปรับระดับ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการเคลื่อนไหวแปรรูปของเปลือกโลก ไหล่ทวีปจะมีระดับสูงขึ้นและมีขนาดกว้างออกไป เพราะมีวัตถุต่าง ๆ จากพื้นดินมาทับถมอยู่ ตัวกระทำที่นำเอาวัตถุเหล่านั้นมาคือ แม่น้ำ ลมและสิ่งที่หลุดร่วงจากฝั่งจากการกระทำของทะเลมหาสมุทรเอง ถ้าชายฝั่งจมตัวลงน้ำทะเลจะไหลท่วมขึ้นไปถึงส่วนที่ป็นที่ราบชายฝั่ง ไหล่ทวีปจะเปลี่ยนแปลงไป ถ้าชายฝั่งยกตัวสูงขึ้นไหล่ทวีปอาจกลายเป็นที่ราบชายฝั่งไป นอกจากนี้ไหล่ทวีบยังเป็นที่อยู่ของสัตว์มากมายอีกด้วย

ลาดทวีป

ลาดทวีปอยู่ถัดจากไหล่ทวีป มีความลาดชันมาก 65 กิโลเมตรต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตร ลาดทวีปในที่ต่าง ๆ มีความกว้างแตกต่างกันไป โดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะเป็นตอนที่มีการเปลี่ยนระดับ ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล
ที่ลาดทวีปและที่ขอบ ๆ ของไหล่ทวีปบางตอนมีหุบเขาลึกอยู่ระหว่าง หุบผาชันใต้ทะเล หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800-2,000 เมตร ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่นอน มีการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิดกระแสน้ำซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัว

พื้นท้องมหาสมุทร

พื้นท้องมหาสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทร ช่วงนี้ไม่ได้ราบเรียบแต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วย ได้แก่สันเขา ซึ่งแคบบ้าง กว้างบ้าง ที่ราบสูง แอ่งรูปกลม แอ่งรูปยาว ภูเขา เช่น สันเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติค บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะซอร์ส และเกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ใต้ระดับน้ำทะเลคือหมู่เกาะฮาวาย สันเขาแห่งนี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดงเป็นตัวอย่างของแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทร

ภูเขาใต้ทะเล

ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร ภูเขาใต้ทะเลบางลูกมียอดตัด เรียกว่า กีย์โอต์พบมากที่ตอนกลางและที่ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวายยอดของภูเขากีโอต์อยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200 - 1,800 เมตรเดิมอาจเป็นยอดภูเขาไฟแล้วคลื่นทำให้สึกกร่อนไปหรืออาจมีปะการังมาเกาะเหนือยอดเขาทำให้ยอดตัด ต่อมาพื้นท้องมหาสมุทรลดระดับต่ำลงหรือน้ำทะเลมีระดับสูงขึ้นเลยจมหายไปใต้น้ำ

ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล

ร่องลึกบาดาลและเหวทะเล ร่องลึกบาดาลเป็นแอ่งลึกรูปยาวและขอบสูงชันอยู่ที่พื้นท้องมหาสมุทร ร่องลึกบาดาลอยู่ค่อนมาทางลาดทวีปหรือใกล้เกาะ เช่น ร่องลึกบาดาลอาลิวเซียนร่องลึกบาดาลมินดาเนา ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ร่องลึกบาดาลชวา ส่วนเหวทะเลหมายถึงแอ่งลุ่มที่มีความลึกเกินกว่า 600 เมตร กำเนิดของร่องลึกบาดาลนี้ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน คาดกันว่าเกิดจากการคดโค้งของพื้นท้องมหาสมุทร และร่องลึกบาดาลเป็นส่วนที่ต่ำ แต่มีร่องลึกบาดาลบางแห่งมีลักษณะคล้ายหุบเขาทรุด แนวที่มีร่องลึกบาดาลนั้นเป็นแนวที่เปลือกโลกยังมีการเคลื่อนไหวอยู่ เพราะแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นนั้นมีหลายครั้งที่มีแหล่งกำเนิดอยู่ที่ใต้ร่องลึกบาดาลเหล่านั้นลงไป

อุณหภูมิ

อุณหภูมิของน้ำทะเล อุณหภูมิของน้ำทะเลนั้นขึ้นอยู่กับการแผ่รังสีดวงอาทิตย์มากกว่าความร้อนจากแก่นโลกหรือกัมมันตภาพรังสีจากพื้นท้องมหาสมุทร อุณหภูมิของน้ำทะเลจะต่างกันทั้งทางแนวราบ คือจากเส้นศูนย์สูตรไปทางขั้วโลก และทางแนวดิ่ง คือจากระดับน้ำทะเลลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรทางแนวราบนั้นที่เส้นศูนย์สูตรอุณหภูมิเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลประมาณ 26 องศาเซลเซียส (80 องศาฟาเรนไฮน์) ที่ขั้วโลกประมาณ -2 องศาเซลเซียส (28องศาฟาเรนไฮน์) ทางแนวดิ่งที่แถบอากาศร้อนอุณหภูมิจะลดลงอย่างรวดร็วจากระดับน้ำทะเลถึงระดับลึกประมาณ 1,080 เมตร อุณหภูมิที่ระดับนี้ประมาณ 4 องศาเซลเซียส จากระดับลึก 1,080 – 1,800 เมตร อุณหภูมิลดลง พ้นระดับนี้ลงไปถึงพื้นท้องมหาสมุทรอุณหภูมิเกือบไม่เปลี่ยนแปลง ประมาณ 2 องศาเซลเซียส ที่ขั้วโลกอุณหภูมิที่พื้นท้องมหาสมุทรประมาณ 2 องศาเซลเซียส



มหาสมุทร ( ocean) เป็นผืนน้ำทะเลขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน และครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ใน 4 (71%) ของพื้นผิวโลก แบ่งออกเป็น 5 มหาสมุทรโดยใช้ทวีปและกลุ่มเกาะขนาดใหญ่เป็นแนวแบ่ง ดังนี้




มหาสมุทรแปซิฟิก
          
มหาสมุทรแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific Ocean - ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea - จากภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข") คือ ผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก กินพื้นที่ประมาณ 180 ล้านตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร(35,798 ฟุต)



       มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรแอตแลนติก



มหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ผิวประมาณ 70,722,600 ตารางไมล์ ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว)           บีบีซีนิวส์ระบุว่าทีมนักวิทยาศาสตร์รายงานการค้นพบลงวารสารเนเจอร์จีโอไซน์ (Nature Geoscience) ระบุว่าภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่สุดในโลกนี้คือ ทามู แมสซีฟ (Tamu Massif) โดยมีพื้นที่ 310,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่าภูเขาไฟโอลิมปัสมอนส์ (Olympus Mons) บนดาวอังคาร ซึ่งเป็นภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ และภูเขาไฟที่ซ่อนตัวอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิกนี้ยังชิงความใหญ่ที่สุดบนโลกจากภูเขาไฟมัวนาโลอา (Mauna Loa) ในฮาวายด้วย


      
      
             ทามูแมสซีฟตั้งอยู่ใต้ทะเลลงไป 2 กิโลเมตร บนที่ราบสูงใต้น้ำที่ชื่อว่า แชตสกายไรส์ (Shatsky Rise) ที่อยู่ห่างจากญี่ปุ่นไปทางตะวันออก 1,600 กิโลเมตร และก่อกำเนิดขึ้นมาบนโลกเมื่อ 145 ล้านปีก่อน ขณะที่ลาวาปริมาณมหาศาลไหลปะทุออกจากศูนย์กลางภูเขาไฟ เพื่อก่อตัวเป็นลักษณะคล้ายโล่ ซึ่งนักวิจัยกำลังสงสัยว่าภูเขาไฟใต้น้ำนี้เคยโผล่พ้นระดับน้ำทะเลระหว่างที่ยังครุกรุ่นหรือไม่ แต่ดูเหมือนตอนนี้ภูเขาไฟดังกล่าวจะไม่ปะทุอีกแล้ว
จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแปซิฟิก
บริเวณ 
Mariana Trench ลึกประมาณ 3,939 เมตร

มหาสมุทรแอตแลนติก
          มหาสมุทรแอตแลนติก (อังกฤษAtlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส"

 มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) สามารถแยกได้เป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด เหนือเป็นแนวแบ่ง ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้อยู่ทางตะวันตกของมหาสมุทร ส่วนทางตะวันออก คือ ทวีปยุโรปและแอฟริกา มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือ กับทางผ่านเดรก (Drake Passage) ที่อยู่ทางใต้ จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์




                                                                                 
เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน มหาสมุทรแอตแลนติกกินพื้นที่ประมาณ 106,400,000 ตารางกิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล จะมีพื้นที่ 82,400,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 354,700,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร แต่หากไม่รวมทะเล คิดเป็นปริมาตร 323,600,000 กม.³
มหาสมุทรแอตแลนติกมีความลึกเฉลี่ย (เมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกัน)
3,332 
เมตร (10,932 ฟุต) และเมื่อไม่รวมทะเล เท่ากับ 3,926 เมตร (12,881 ฟุต) จุดที่ลึกที่สุด คือ เปอร์โตริโกเทรนช์ (Puerto Rico Trench) มีความลึก 8,605 เมตร (28,232 ฟุต) ความกว้างของมหาสมุทรมีค่า 2,848 กิโลเมตร เมื่อวัดจากบราซิลถึงไลบีเรีย และ 4,830 กิโลเมตร เมื่อวัดจากสหรัฐ ฯ ถึงตอนเหนือของแอฟริกา

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร์หรือสามเหลี่ยมมรณะ (อังกฤษBermuda Triangle) เป็นบริเวณสมมติในมหาสมุทรแอตแลนติก มีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้าน ตร.กม. อยู่ระหว่างจุด 3 จุดที่ไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของมลรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดาซึ่งเป็นดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นที่รู้จักทางสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย หลังจากที่ค้นพบว่าคุณสมบัติทางฟิสิกส์ต่างๆ ไม่เป็นไปตามกฎพื้นฐาน

           สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา เริ่มเป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) หลังจากที่มีเรือขนาดใหญ่หายสาบสูญภายในบริเวณสามเหลี่ยม รวมถึงเครื่องบินและเรือขนาดเล็กอื่นๆ จนได้รับขนานนามว่า "สามเหลี่ยมปีศาจ" (The Devil's Triangle)
       ศัพท์คำว่า "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา" หรือ "Bermuda Triangle" นี้ มีที่มาจากบทความนิตยสารอาร์กอสซี่ เจ้าของบทความชื่อ Vincent H. Gaddis ได้นำเสนอเรื่องราวของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างลึกลับโดยปราศจากคำ อธิบายในนิตยสารดังกล่าว เมื่อปี ค.ศ. 1964 แต่ แกดดิสไม่ได้เป็นคนแรกที่สังเกตเรื่องนี้ ก่อนหน้าในปี ค.ศ. 1952 นาย George X. Sands เสนอเรื่องทำนองนี้เช่นกันในนิตยสาร Fate เนื้อหากล่าวถึงปริมาณของเรือและเครื่องบินที่สาบสูญไปอย่างผิดปกติในบริเวณ น่านน้ำดังกล่าว ซึ่งยอดสูญหายนี้มันมากเกินไปกว่าที่จะสันนิษฐานว่าเป็นอุบัติเหตุ
                                      



 จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรแอตแลนติก
บริเวณ Puerto Rico Trench ลึกประมาณ 3,575 เมตร

อ้างถึง      มหาสมุทร : http://th.wikipedia.org/wiki/มหาสมุทร
                มหาสมุทรอาร์กติก : http://th.wikipedia.org/wiki/มหาสมุทรเเอตเเลนติก
                หมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์ติก : http://th.wikipedia.org/wiki/หมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์ติก
                มหาสมุทรเเอตเเลนติก : http://th.wikipedia.org/wiki/มหาสมุทรแอตแลนติก
                สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา : http://www.tumnandd.com