วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2558


10 ร่องลึกของมหาสมุทร

1. ชาเลนเจอร์ดีป (Challenger Deep) อยู่ในบริเวณร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา หรือ มาเรียนา เทรนช์ ในมหาสมุทรแปซิฟิก วัดความลึกได้ ระหว่าง 10,916-11,033 เมตร หรือเกือบ 11 กิโลเมตร โดยจุดนี้อยู่ ห่างไปทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ประมาณ 200 กิโลเมตร ซึ่งถ้าเทียบกับสถานที่บนโลก ที่แห่งนี้จะมีขนาดความใหญ่กว่าพื้นที่แกรนด์แคนยอนถึง 120 เท่า และสูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ถึง 1.6 กิโลเมตร และแน่นอนว่า หากเราว่ายน้ำลงไปแล้ว ทุกอย่างก็จะกลายเป็นความมืดมิดและหนาวเหน็บมาก ๆ เพราะลึกจนแสงอาทิตย์ส่องไม่ถึงนั่นเอง



                                     Tonga Trench            
2. ร่องลึกก้นสมุทรตองกา (Tonga Trench) ถูกจัดให้เป็นร่องน้ำลึกอันดับที่ 2 ของโลกเท่าที่มีการสำรวจมา มันมีความลึกที่ 10,882 เมตร  จากระดับน้ำทะเล และอยู่ในโซนแฟซิฟิกใต้ ของมหาสมุทรแปซิฟิกอันกว้างใหญ่ ร่องลึกแห่งนี้เกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น คือ แผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกที่ชนแล้วมุดตัวลงใต้แผ่นเปลือกโลกตองกา

                                Kuril-Kamchatka Trench         

3. ร่องลึกก้นสมุทรคูริล-คัมชัทกา (Kuril-Kamchatka Trench) มีความลึกประมาณ 10,500 เมตร อยู่ทางตอนเหนือของมหาสมุทรแฟซิฟิก วางตัวอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรคัมชัทกา ขนานไปกับแนวหมู่เกาะคูริล และเป็นร่องน้ำลึกในเขตที่มีการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) คือแผ่นแปซิฟิกเพลทที่มุดตัวลงใต้แผ่น Okhotsk Plate ปัจจุบันนี้ยังคงมีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องซึ่งทำให้เกิดการปะทุของภูเขาไฟ

                                                 Philippine Trench       
4. ร่องลึกก้นสมุทรฟิลิปปิน (Philippine Trench) 
หรืออาจเรียกว่า ร่องลึกก้นสมุทรมินดาเนา มีความลึก 10,540 เมตร จากระดับน้ำทะเล วัดได้จากจุดที่ลึกที่สุดชื่อว่า ร่องลึกกาลาเธีย (Galathea Depth) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกของเกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์

                                  Kermadec Trench          

5. ร่องลึกก้นสมุทรเคอร์มาเดค (Kermadec Trench) มีความลึกที่ 10,047 เมตร จากระดับน้ำทะเล วางตัวขนานไปกับแนวโค้งของหมู่เกาะเคอร์มาเดค ประเทศนิวซีแลนด์ ทอดตัวยาวราวหนึ่งพันกิโลเมตร แล้วเชื่อมต่อกับแนวภูเขาใต้ทะเลหลุยส์วิลล์ (Louisville Seamount chain) ร่องลึกแห่งนี้เกิดจากการมุดตัวแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิก มุดลงลงใต้แผ่นเปลือกโลกอินโด-ออสเตรเลีย และเป็นร่องลึกที่มีความชันอย่างเด่นชัด

                                       Rico Trench          

6. ร่องลึกก้นสมุทรเปอร์โตริโก (Puerto Rico Trench) อยู่ในช่วงรอยต่อของทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติก มีความลึก 8,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องลึกที่มีความลึกมากที่สุดในมหาสมุทรแอตแลนติก มีความยาวกว่า 800 กิโลเมตร ร่องลึกเปอร์โตริโกเกิดขึ้นจากรอยเลื่อนของแผ่นเปลือกโลก (fault zone) อันเป็นต้นเหตุของคลื่นใต้น้ำขนาดใหญ่ หรือสึนามิ และแผ่นดินไหวรุนแรงในบริเวณใกล้เคียง โดยแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี 1953 ที่เมืองซานโต โดมินิกัน สาธารณรัฐโดมินิกัน สามารถวัดระดับความรุนแรงได้ถึง 8.1 แมกนิจูด

                             South Sandwich Trench         

7. ร่องลึกก้นสมุทรเซาธ์ แซนด์วิช (South Sandwich Trench) อยู่ทางตอนใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจากหมู่เกาะภูเขาไฟเซาธ์ แซนด์วิช อันเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ออกไปทางตะวันออกราว 100 กิโลเมตร มีความลึกประมาณ 8,428 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องที่มีความลึกเป็นอันดับ 2 ของมหาสมุทรแห่งนี้ และทอดตัวยาวราว 956 กิโลเมตร เกิดจากการมุดตัวของส่วนปลายของแผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ หรือเซาธ์ อเมริกัน เพลท ลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกเซาธ์ แซนด์วิช

                                  Romanche Trench          

8. ร่องลึกก้นสมุทรโรมังเช่ (Romanche Trench) มีความลึก 7,760 เมตร จากระดับน้ำทะเล ทอดตัวยาวประมาณ 300 กิโลเมตร อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรไปทางตอนเหนือเล็กน้อย โดยอยู่ส่วนที่แคบที่สุดของมหาสมุทรแอตแลนติก ระหว่างประเทศบราซิล และทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ร่องลึกก้นสมุทรโรมังเช่นับเป็นร่องน้ำลึกที่มีความลึกเป็นอันดับ 3 ของมหาสมุทรแอตแลนติก และยังเป็นร่องน้ำลึกที่แบ่งสันเขาใต้สมุทรมิดแอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) ออกเป็นสองส่วนด้วย

Java Trench          

9. ร่องลึกก้นสมุทรชวา (Java Trench) หรืออาจเป็นที่รู้จักในนาม ร่องลึกก้นสมุทรซุนดา (Sunda trench) มีความลึก 7,725 เมตร จากระดับน้ำทะเล นับเป็นร่องน้ำลึกที่มีความลึกมากที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย ร่องลึกแห่งนี้ทอดตัวยาวราว 2,600 กิโลเมตร จากหมู่เกาะซุนดาน้อย ผ่านตอนใต้ของเกาะสุมาตราไปจนถึงเกาะชวา เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกออสเตรเลียนเพลทลงใต้แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ร่องลึกก้นสมุทรชวายังอยู่ในเขตวงแหวนแห่งไฟ (Pacific Ring of Fire) อีกด้วย จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่าการเคลื่อนไหวของแผ่นเปลือกโลกในบริเวณของร่องลึกนี้ สามารถนำมาซึ่งมหันตภัยใหญ่ เช่น สึนามิ ได้ จึงเป็นที่มาของการทำข้อตกลงนานาชาติในการติดตั้งระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์ไปตลอดแนวมหาสมุทรอินเดียนั่นเอง

                                        Eurasian Basin       
10. แอ่งลึกยูเรเซีย (Eurasian Basin)
 ถูกพบอยู่ภายใต้ผืนน้ำแข็งมหาสมุทรอาร์กติก มีความลึกราว 5,450 เมตร จากระดับน้ำทะเล และทอดตัวยาวประมาณ 350 กิโลเมตร นับเป็นร่องใต้สมุทรที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์กติก 
                      

อ้างถึง:     10 ร่องลึกของมหาสมุทร:http://hilight.kapook.com/view/99981


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น