วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2558




มหาสมุทรอินเดีย
         มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำในโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา และจังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทย ทะเลอันดามัน คาบสมุทรมลายู หมู่เกาะซุนดา หมู่เกาะสิมิลัน ประเทศออสเตรเลีย และอ่าวพังงา ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก

ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นที่ 73,556,000 ตารางกิโลเมตร (รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย) ทั้งมหาสมุทรมีปริมาตรประมาณ 292,131,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร ริมขอบของมหาสมุทรมีเกาะขนาดเล็กจำนวนมาก ประเทศที่เป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ มาดากัสการ์ (เดิมเป็นสาธารณรัฐมาลากาซี) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รวมทั้งคอโมรอส เซเชลส์ มัลดีฟส์ ประเทศมอริเชียส และศรีลังกา กั้นเขตแดนด้วยประเทศอินโดนีเซีย และจังหวัดเกาะในมหาสมุทรอินเดีย คือจังหวัดภูเก็ต ของประเทศไทย มหาสมุทรอินเดียมีความสำคัญในฐานะเส้นทางผ่านระหว่างเอเชียและแอฟริกา ในอดีตจึงมีข้อพิพาทบ่อยครั้ง แต่เนืองจากมหาสมุทรมีขนาดใหญ่ ไม่มีประเทศใดที่สามารถครอบครองได้จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1800 เมื่อประเทศบริเตนเข้าควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่รอบ ๆ


จุดลึกที่สุดของมหาสมุทรอินเดีย
บริเวณ
Java Trenech ลึกประมาณ 3,840 เมตร


มหาสมุทรใต้
         มหาสมุทรใต้ (อังกฤษ: Southern Ocean) หรือที่รู้จักกันในชื่อ มหาสมุทรแอนตาร์กติก (อังกฤษ: Antarctic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา



            มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดียปัจจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป


มหาสมุทรอาร์ติก

            
มหาสมุทรอาร์กติก (อังกฤษ: Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด
มหาสมุทรอาร์กติกครอบคลุมแอ่งรูปร่างเกือบเป็นวงกลม มีพื้นที่ 14,090,000 ตารางกโลเมตร ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์ (Barents Sea) ทะเลโบฟอร์ต (Beaufort Sea) ทะเลชุกชี (Chukchi Sea) ทะเลคารา (Kara Sea) ทะเลลัปเตฟ (Laptev Sea) ทะเลไซบีเรียตะวันออก (East Siberian Sea) ทะเลลิงคอล์น (Lincoln Sea) ทะเลแวนเดล (Wandel Sea) ทะเลกรีนแลนด์ (Greenland Sea) และทะเลนอร์เวย์ (Norwegian Sea) เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง (Bering Strait) และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์
         
มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปี (และเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว) อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร และการเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา
สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต)
         
หมู่เกาะ   

กรีนแลนด์   (กะลาลลิซุต: 
Kalaallit Nunaat; เดนมาร์ก: Grønland) เป็นดินแดนทางเหนือสุดของโลก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติกและเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ประมาณ 2,175,900 ตารางกิโลเมตร มีฐานะเป็นดินแดนปกครองตนเองของประเทศเดนมาร์ก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2499
เกาะวิกตอเรีย   (อังกฤษ: 
Victoria) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนูนาวุต คาบสมุทรบูเธีย เกาะแบงค์ เกาะสเตแฟนส์สั่น เกาะเมลวิลล์ เกาะซัมเมอร์เซต และเกาะพรินซ์ออฟเรสล์ มีพื้นที่ติดกับอ่าวอมันด์เซและอ่าวโคโรเนชั่น มีเมืองติดชายฝั่งทะเลคือเมืองโฮลแมนและเคมบริดจ์เบย์
เกาะแบฟฟิน   เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของประเทศแคนาดา และเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 
ของโลก อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะกรีนแลนด์ ติดกับอ่าวแบฟฟิน ,คาบสมุทรคัมเบอร์แลนด์ ,แคบฮัดสันและเดวิส มีหิมะอยู่ทางเหนือของเกาะ และทางใต้ที่ติดกับอ่าวฟรอบิสเซอร์ มีเมืองสำคัญคืออีกวาลิค
ยานไมเอน   (นอร์เวย์:
Jan Mayen) เป็นเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ระหว่างกรีนแลนด์กับนอร์เวย์ มีความยาว 55 กิโลเมตร เนื้อที่ 373 ตารางกิโลเมตร อยู่ภายใต้การปกครองของประเทศนอร์เวย์
จุดที่สูงที่สุดของยานไมเอนคือภูเขาไฟเบเรนเบร์ก 2277 เมตร ยานไมเอนไม่มีประชากรอยู่อาศัยยกเว้นเจ้าหน้าที่ในศูนย์อุตุนิยมวิทยา
สฟาลบาร์ 
 เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ตั้งอยู่ทางเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ระหว่างนอร์เวย์และขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่ละติจูด 74 ถึง 81 องศาเหนือ สฟาลบาร์เป็นรัฐในอธิปไตยของประเทศนอร์เวย์ โดยเป็นส่วนที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศ มีประชากรอาศัยอยู่บนสามเกาะคือ สปิตส์เบอร์เกน บีเยอร์เนอยา และโฮเปน
เกาะเอลสเมียร์  (อังกฤษ: 
Ellesmere Island) เป็นเกาะของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก นับเป็นเกาะใหญ่อันดับสิบของโลก และใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศแคนาดา มีพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกปกคลุมด้วยธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง ตั้งอยู่เหนืออาร์กติกเซอร์เคิล จึงถูกนับเป็นส่วนหนึ่งของขั้วโลกเหนือ
จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรอาร์คติก
บริเวณ 
Eurasia Basin ลึกประมาณ 1,038 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น